ถึงแม้ว่าอวัยวะต่าง ๆ ของเรานั้น ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่ถ้าหากเราใส่ใจ และรู้จักวิธีดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และแข็งแรงกว่าคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกันได้ Ged Good Life จึงขอแนะนำ วิธียืดอายุ 10 อวัยวะสำคัญของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน ห่างไกลหมอ แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!
วิธีดูแล 10 อวัยวะสำคัญของร่างกาย แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
1. ผิวหนัง (Skin)
หลังอายุ 18 ปี คอลลาเจน และอีลาสตินที่ยืดหยุ่นได้ จะลดลงประมาณ 1% ต่อปี ลองนึกภาพถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลผิวของเรา ใบหน้าของเราจะแก่กว่าวัยแค่ไหน
วิธีดูแลสุขภาพผิวหนัง
- ทาครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้ผิวเราแพ้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส
- ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ตัวการทำลายผิวโดยตรง รวมถึงนอนหลับให้เพียงพอ
2. ปอด (Lungs)
หลังอายุ 30 ปี การทำงานของปอดจะเริ่มลดลง 1% ต่อปี และลดลงในคนที่อยู่นิ่ง ๆ มากกว่าคนที่กระตือรือร้น กล่าวโดย Dr. Thomas Perls แพทย์ผู้สูงอายุและผู้วิจัยหลักของ New England Centenarian Study ที่ศูนย์การแพทย์บอสตัน
วิธีดูแลสุขภาพปอด
- ออกกำลังกายที่มีส่วนช่วยให้ปอดแข็งแรง เช่น การว่ายน้ำ หรือ วิ่ง
- หลีกเลี่ยงมลพิษที่ทำร้ายปอด เช่น PM2.5 ควันธูป ควันจากการประกอบอาหาร ฝุ่นขนาดเล็ก และสารเคมีที่มีไอระเหยต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม -> 10 อาหารบำรุงปอด ให้แข็งแรง แถมหากินง๊ายง่าย โดยกรมอนามัย
3. กระดูก (Bone)
หลังอายุ 35 ปี มวลกระดูกมีแนวโน้มที่จะลดลงในอัตราสูงถึง 1% (และจะมีอัตราลดลงเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน)
วิธีดูแลสุขภาพกระดูก
1. ออกกำลังกายแบบยกน้ำหนัก ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกดีขึ้นได้
2. การกระโดด 20 ครั้งต่อวัน ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกสะโพกดีขึ้นได้
3. ระวังการล้ม และการใช้ยาบางชนิด เพื่อป้องกันกระดูกหัก กระดูกพรุน และควรเสริมสร้างแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
4. ดวงตา (Eyes)
หลังอายุ 40 ปี ดวงตา จอประสาตา เลนส์ตาจะเสื่อมลง ในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ ระยะการมองเห็นก็ลดลงตามวัย
วิธีดูแลสุขภาพดวงตา
- สวมแว่นตากันแดด เพื่อปกป้องสายตาของคุณจากรังสี UV
- พักสายตาจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี เป็นเวลานาน
- งดการสูบบุหรี่ เพราะสามารถเร่งการก่อตัวของต้อกระจกได้
อ่านเพิ่มเติม -> วิธีดูแลดวงตา ไม่ให้เสื่อมก่อนวัย พร้อมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา
5. กล้ามเนื้อ (Muscles)
หลังอายุ 40 ปี มวลกล้ามเนื้อจะลดลง และเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อเราอายุมากขึ้น กล่าวโดย Dr. Luigi Ferrucci ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วิธีดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อ
Dr. Luigi แนะนำว่า คุณต้องแทรกกิจกรรมการออกกำลังกายลงในกิจวัตรประจำวัน หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่อสูงวัยขึ้น
6. ไต (kidneys)
หลังอายุ 50 ปี การทำงานของไตจะเริ่มเสื่อมลงที่ละเล็กที่ละน้อย ที่เราไม่อาจรู้สึกถึงการเสื่อมถอยนี้ได้ ฉะนั้นอย่าประมาทคิดว่าไม่รู้สึกแล้วจะไม่เป็นไร
วิธียืดอายุไต
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เป็นสิ่งสำคัญสุด ๆ ในการคงสุขภาพไตให้สมบูรณ์ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- อาหารรสจัด ก็ควรหลีกเลี่ยง
อ่านเพิ่มเติม -> ไต มีหน้าที่สำคัญอย่างไร? พร้อม 7 วิธี ดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรง
7. สำไส้ (Gut)
หลังอายุ 60 ปี ปุ่มเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็กจะบางลง ร่างกายจึงดูดซึมสารอาหารได้น้อยลงตามไปด้วย
วิธีดูแลสุขภาพลำไส้
- กินอาหารย่อยง่าย กินปลา ถั่ว เห็ด รวมถึงผักผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารทอด
- กินโยเกิร์ต 1 ถ้วยทุกวัน เสริมโปรไบโอติก เพิ่มปริมาณแบคทีเรียดีในลำไส้
- ฝึกโยคะ 4 ท่าช่วยระบบย่อยทุกเช้าหลังตื่นนอน ดังนี้ ท่าแมว ท่าสุนัข ท่าสามเหลี่ยม ท่าสะพาน และปิดท้ายด้วยท่าศพ ครั้งละ 3-5 ลมหายใจ แต่ละท่าทำ 5 ครั้ง นับเป็น 1 เซ็ต
อ่านเพิ่มเติม -> “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” TOP3 โรคมะเร็งคนไทยเป็นมากสุด! สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน
8. หู (ears)
หลังอายุ 60 ปี 1 ใน 3 คนในช่วงวัย 65-74 ปี จะเริ่มการสูญเสียการได้ยิน
วิธีดูแลสุขภาพหู
- หลีกเลี่ยงการทำงาน หรืออาศัยอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดัง หากจำเป็นต้องใส่เครื่องป้องกัน
- เลี่ยงการฟังเพลงเสียงดัง โดยเฉพาะการใช้หูฟังครอบหู หรือแบบเสียบเข้าหู
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู
อ่านเพิ่มเติม -> คุณภาพชีวิตที่สูญไปเมื่อมีอาการ “หูตึง” สาเหตุ อาการ ทางแก้ไข
9. หัวใจ (Heart)
หลังอายุ 65 ปี เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะลดจำนวนลง แต่ขยายขนาดขึ้น ซึ่งทำให้ผนังหัวใจของคุณหนาขึ้น หลอดเลือดแดงของคุณมักจะแข็งขึ้นเช่นกัน เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ถึง 30 ปี และโรคหัวใจมักจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 65 ปี
วิธีดูแลสุขภาพหัวใจ
- งดอาหารหวาน มัน เค็ม รักษาความดันโลหิต และน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ว่ายน้ำ เดิน วิ่ง โยคะ ร่วมถึงการยกน้ำหนัก ช่วยให้หัวใจทำงานต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง
- ปลูกต้นไม้ ไปทำกิจกรรมในสวนสาธารณะ หรือมีสัตว์เลี้ยง ผู้ที่มีงานอดิเรกเหล่านี้ มีความเสี่ยงโรคหัวใจน้อยกว่าคนทั่วไป
10. สมอง (Brain)
หลังอายุ 70 ปี จะเริ่มพบความผิดปกติที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในคราวเดียว
วิธีดูแลสุขภาพสมอง
รศ.ดร.ภญ.อรพรรณ มาตังคสมบัติ อดีตคณบดีเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำวิธีดูแลสุขภาพสมองไว้ดังนี้
1. นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์ (Neurobics Exercise) หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้าง ทำงานประสานกัน เช่น ทำสวน เย็บผ้า ทำกับข้าว ช่วยให้สมองทั้งซีกซ้ายและขวา ได้รับการกระตุ้น และทำงานไปพร้อมกัน
2. กิน ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช แหล่งสุดยอดสารอาหารบำรุงเป็นประจำ .
3. ฝึกเจริญสติก่อนนอน ใช้วิธีกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก จนกว่าจะหลับ ช่วยลดความเครียด และทำให้สมองปลอดโปร่งในวันรุ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ สิ่งสำคัญคือ สุขภาพดีดี เริ่มด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เสริมด้วยการทำจิตใจให้ผ่อนใส ไม่เครียดจนเกินไป และอย่าลืมไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อจะได้รู้ว่า สุขภาพของเราเป็นอย่างไร จะได้รับมือได้ทันการณ์นั่นเอง
อ้างอิง : 1. Time magazine 2. mgronline